การติดตั้งกระโหลก สำหรับจักรยาน (Bottom Bracket)
กระโหลก เป็นแกนหมุนที่ใส่ไว้ตรงท่อด้านล่างของเฟรม เป็นส่วนที่ขาจานมายึดติด ทำให้ขาจานหน้าหมุนได้ กระโหลกสำหรับจักรยานพัฒนามาจนปัจจุบันมีหลากหลายขนาด และมาตรฐาน สำหรับบทความนี้จะพูดถึงกระโหลกสำหรับจักรยานแบบที่เรียกว่ากระโหลกเหลี่ยม (Catridge Bottom Bracket)
ชื่อนี้เป็นที่คุ้นหูของคนไทย เรียกตามลักษณะของ แกนที่ยื่นออกมาตรงส่วนที่สวมเข้ากับขาจาน มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม กระโหลกเหล่ียมนี้ยังมีชนิดย่อยๆไปอีกหลายแบบ
ซึ่งก่อนที่เราจะเลือกหากระโหลกมาติดตั้งบนจักรยาน เราควรรู้ก่อนว่า ขาจาน ที่เราจะใช้ เข้ากันได้ กับกระโหลกแบบใด รวมทั้งศึกษาที่เฟรมด้วยว่า ขนาดของท่อกระโหลกบนตัวเฟรม มีความกว้างเท่าไร
Velo Orange ผลิตกระโหลกออกมาหลายรุ่นให้เลือกใช้ได้กับเฟรมที่ผลิตมาหลากหลายมาตรฐาน สนใจลองติดตามไปดูได้ครับ

เฟรมจักรยาน Velo Orange ทุกรุ่น มีขนาดความกว้างของท่อกระโหลกขนาด 68 มม. เกลียวสวมเป็นแบบ ISO หรือเกลียวอังกฤษ ขนาดของท่อบนเฟรมวัดจากขอบด้านข้างทั้งสองข้าง ท่อกระโหลกขนาดนี้ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับรถเฟรมเหล็กทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถหมอบ ซิตี้ หรือ ทัวร์ริ่ง
ส่วนกระโหลก ที่เป็นแบบกระโหลกเหลี่ยม มีความกว้างด้านนอกหลายขนาด เราควรเลือกขนาดให้ถูกต้องโดยดูจากคำแนะนำของผู้ผลิตขาจาน กระโหลกแบบนี้หาซื้อได้ง่ายตามร้านจักรยานทั่วโลก (สิ่งนี้เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักปั่นทัวร์ริ่งหรือ แรนดอนเนอร์) ราคา และคุณภาพของกระโหลก จะขึ้นกับชนิดของลูกปืน ตั้งแต่แบบลูกปืนโลหะเม็ดกลมเปล่าๆมาเรียงในถ้วยกระโหลก ไปจนถึงแบบตลับที่มีลูกปืนเซรามิก กระโหลกจาก VO ใช้ลูกปืนสแตนเลสขนาดพิเศษบรรจุในตลับ เพื่อความทนทาน กันน้ำเข้า และง่ายต่อการติดตั้ง แกนทำจากโลหะโบรอนที่แข็งแรง และถ้วยเกลียวทำจากอัลลอย
ทุกวันนี้จักรยานรุ่นใหม่ๆจะเปลี่ยนมาใช้กระโหลกแบบสวม ( Press Fit หรือ Drop in ) โดยเฉพาะเฟรมคาร์บอน หรืออลูมินั่ม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ใช้งานง่าย ใช้กับขาจานได้หลายๆแบบ และประหยัดต้นทุนในการทำเกลียว กระโหลกแบบใหม่มีปัญหาสองอย่างที่พบเจอได้บ่อยคือ เสียงดังจากการที่กระโหลกไม่แนบสนิทกับผิวเฟรม และทำให้เกิดการคลอนหลวมหลุดออกได้

การติดตั้งกระโหลกเข้ากับเฟรม ต้องมีเครื่องมือที่เรียกว่า ตัวขันกระโหลก (Bottom Bracket Tool) , ประแจขัน , จารบี และไขควงแบบสี่แฉก (Phillips Screwdriver)
ตัวขันกระโหลกแบบนี้ มีสินค้าจาก VO ด้วยครับ


เฟรม Velo Orange ผลิตโดยโรงงานทำเฟรมที่ดีที่สุดในไต้หวัน เฟรมจะมีการเตรียมส่วนต่างๆจากโรงานมาเพื่อให้ประกอบชิ้นส่วนเข้าไปได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลา หรือค่าใช้จ่ายในการเตรียมเฟรมเพิ่ม เกลียวสำหรับกระโหลกที่ทำมาอย่างดี เราเพียงแค่เช็ดลูบเอาส่วนปนเปื้อนหรือเศษฝุ่นออกก่อนประกอบ หรือ หากเอานิ้วลูบเจอเศษคมค้างอยู่ อาจใช่กระดาษทรายละเอียดถูเพียงเบาๆก็เพียงพอ
ใต้เฟรมจะมีรูเกลียวสำหรับยึดตัวนำสายเคเบิ้ล ปกติแล้วสกรูที่ยึดจะทะลุผ่านผนังท่อเข้ามาด้านใน เราควรคลายน๊อตออกมาก่อนที่จะติดตั้งกระโหลก เพื่อไม่ให้ขวางการติดตั้ง หรือขูดขีดให้เป็นรอยได้

ทาจารบีบนถ้วยเกลียวทั่งสองข้างซ้ายขวา ให้ทั่ว และทาตรงเกลียวที่ท่อกระโหลกบนเฟรมด้วย แล้วสวมถ้วยกระโหลกเข้าไปที่เฟรม

ด้านซ้ายหรือ Non-drive หมุนไปทางขวา

ด้านขวา หรือ Drive-side หมุนไปทางซ้าย
สำหรับกระโหลกที่เป็นเกลียวแบบอังกฤษ ด้านซ้ายหมุนวนขวา (เกลียวขวา) ด้านขวาหมุนวนซ้าย(เกลียวซ้าย)


การติดตั้งจะติดตั้งด้านซ้ายหรือ Non-drive เข้าไปก่อน ตามด้วยด้านขวาหรือ Drive-side
ลองศึกษาเรื่องของกระโหลกกับการเข้ากันได้ของเฟรมที่เวปของSheldon Brown ตามลิงค์ด้านล่างนี้

การสวมด้านซ้ายก่อนเป็นการวางแนวให้เราสวมกระโหลกจากด้านขวาได้ตรงศูนย์กลางได้ง่าย เมื่อสวมด้านขวาเข้าไปแล้วจึงขันให้แน่นอาจใช้ประแจปอนด์ที่วัดแรงได้ แรงในการขันตึงอยู่ที่ 60 Nm เมื่อด้านขวาแน่นแล้วเราจึงไปขันด้านซ้ายอีกทีหนึ่ง เช็ดจารบีส่วนเกินออก แล้วขันสกรูตัวนำสายด้านใต้กลับเข้าไป เป็นอันเรียบร้อย

0 comments:
Post a Comment